ผู้สมัครสายโปรรัสเซีย ชนะการเลือกตั้งสโลวาเกีย
สโลวาเกียซึ่งเป็นหนึ่งในชาติสมาชิกนาโตและเป็นชาติที่ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างแข็งขันมาโดยตลอดนับตั้งแต่รัสเซียบุกยูเครนเมื่อปีที่แล้ว เหตุผลที่หลายฝ่ายให้ความสนใจกับผลการเลือกตั้งครั้งนี้เนื่องจากผู้ที่มีแนวโน้มชนะและขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป มีแนวคิดสนับสนุนรัสเซีย
การหย่อนบัตรเลือกตั้งของสโลวาเกียเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 9.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (30 กันยายน) ก่อนที่การนับคะแนนจะเริ่มขึ้นหลังปิดหีบบัตรเลือกตั้งในเวลา 20.00 น.
รมว.กลาโหมอังกฤษ เผย เล็งส่งทหารอังกฤษไปช่วยยูเครนฝึกกำลังพล
ตรวจหวยL6 งวดนี้ – ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ลอตเตอรี่ 1/10/66
ความคาดหวังของประชาชนมีตั้งแต่อยากเห็นรัฐบาลใหม่แก้ปัญหาปากท้อง ไปจนถึงจุดยืนของประเทศต่อจากนี้ว่า จะเอนไปทางตะวันตกหรือตะวันออก
การเอนไปทางตะวันตกหมายถึง การให้การสนับสนุนยูเครนอย่างหนักแน่นต่อไป และการเอียงไปทางตะวันออกคือ การลดการสนับสนุน การลดการสนับสนุนต่อยูเครนหรือไม่ คือสิ่งที่หลายประเทศจับตามอง ในฐานะที่สโลวาเกียเป็นหนึ่งในชาติสมาชิกนาโต นับตั้งแต่รัสเซียเข้ารุกรานยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สโลวาเกียให้การสนับสนุนยูเครนอย่างหนักแน่นมาโดยตลอด
สโลวาเกียเป็นประเทศแรกที่ส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศ และเป็นชาติที่ 2 ต่อจากโปแลนด์ที่ส่งเครื่องบินรบให้กับยูเครนเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ยูเครนเริ่มต้นร้องขอเครื่องบินรบจากพันธมิตรหลังจากถูกรัสเซียโจมตีทางอากาศอย่างหนัก
ฃในขณะที่หลายชาติลังเลเพราะเกรงว่า การส่งเครื่องบินรบให้จะเป็นการยั่วยุรัสเซีย นายกรัฐมนตรีเฮเกอร์ของสโลวาเกียออกมาระบุว่า ความช่วยเหลือทางการทหารคือกุญแจสำคัญที่จะทำให้สงครามยุติได้ ก่อนจะประกาศส่งเครื่องบินขับไล่ MiG-29 จำนวน 13 ลำให้กับยูเครน
อย่างไรก็ตาม จุดยืนของสโลวาเกียอาจเปลี่ยนไปหากผู้ชนะเลือกตั้งครั้งนี้คือ โรเบิร์ต ฟิโก จากพรรคสเมอร์ (SMER) ฟิโกเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของสโลวาเกีย 2 สมัย คือในช่วงปี 2006-2010 และในช่วงปี 2012-2018 ก่อนจะลาออกจากตำแหน่งหลังเผชิญกับการประท้วงใหญ่ของประชาชน
โดยการประท้วงที่ทำให้ฟิโกต้องออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ เกิดขึ้นหลังจากนักข่าวเชิงสอบสวนรายหนึ่งที่ทำข่าวเปิดโปงการทุจริตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยมในบ้านพัก
ที่ผ่านมา ฟิโกแสดงความเห็นอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาหลายครั้งว่า ต้นเหตุของสงครามครั้งนี้เกิดขึ้นมาจากนักการเมืองของยูเครนที่ฝักใฝ่ลัทธินาซี จนเป็นเหตุทำให้ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียไม่พอใจและส่งกำลังทหารเข้าไปในยูเครน ซึ่งความคิดเห็นของฟิโกเป็นเหตุผลหรือวาทกรรมเดียวกันกับที่รัสเซียใช้เป็นเหตุผลในการบุกยูเครน
อีกประเด็นหนึ่งที่นักการเมืองรายนี้แสดงความเห็นอย่างเปิดเผยคือ เขาไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลสโลวาเกียส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับยูเครน โดยระบุว่า หากได้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลของเขาจะไม่ส่งกระสุนและอาวุธให้กับยูเครนอีกต่อไป เนื่องจากเป็นการส่งที่ทำให้สงครามครั้งนี้ยืดเยื้อ
ล่าสุดผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการออกมาแล้วปรากฎว่า พรรคสเมอร์ของฟิโกได้คะแนนนำมาเป็นอันดับที่ร้อยละ 23 ส่วนพรรค Progreesive Slovakia ได้มาเป็นอันดับที่ 2 ที่ร้อยละ 17 ส่วนพรรคที่มาเป็นที่ 3 คือพรรคฮลัส
นั่นหมายความว่า รัฐบาลชุดใหม่ของสโลวาเกียจะมีพรรคสเมอร์ซึ่งชูแนวทางยุติการสนับสนุนด้านอาวุธต่อยูเครนจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล
ท่ามกลางความไม่แน่นอนว่าจะได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธจากชาติพันธมิตรต่อเนื่องยาวนานแค่ไหน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีท่าทีที่น่าสนใจออกมาจากยูเครน นั่นก็การประกาศเป็นผู้ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ทางด้านการทหารเอง
เมื่อคืนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนขึ้นเวทีในงานประชุมนานาชาติด้านอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศที่จัดขึ้นที่กรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน โดยมีผู้บริหารหรือตัวแทนจากบริษัทผลิตอาวุธชั้นนำจาก 30 ประเทศเข้าร่วม
ผู้นำยูเครนระบุว่า กำลังวางเป้าหมายให้ยูเครนเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมด้านการทหาร โดยจะเร่งเพิ่มอัตราการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ในประเทศ ทั้งในส่วนที่ใช้เพิ่มความปลอดภัย ปกป้องชีวิตประชาชน และในส่วนที่เป็นยุทโธปกรณ์ทางการทหารชั้นสูงเพื่อสำหรับใช้ในการรบแนวหน้า
ในระหว่างการแถลงข่าว ประธานาธิบดีเซเลนสกียังได้พูดถึงเรื่องความคืบหน้าของการก่อตั้งกองเรือโดรน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการทำการรบกับรัสเซียบริเวณชายฝั่งและทางทะเล
กองเรือโดรนถูกพูดถึงครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากที่ยูเครนเริ่มยกระดับการโจมตีกองเรือทะเลดำในน่านน้ำรอบไครเมีย ดินแดนทางตอนใต้ที่ถูกรัสเซียผนวกไปเมื่อปี 2014 โดยในคราวนั้นผู้นำยูเครนระบุว่า การจัดตั้งกองเรือโดรนก็เพื่อทำให้ยูเครนสามารถตอบโต้รัสเซียได้ดีขึ้น
กองเรือโดรน คือฝูงเรือผิวน้ำไร้คนขับ หรือ Unmanned surface vehicle ที่สามารถเข้าโจมตีเป้าหมายได้ด้วยการใช้ระบบนำทางด้วยเครือข่ายดาวเทียม (GNSS) และระบบนำทางเฉื่อย (INS) ที่ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อ้างอิงจากภายนอก
เรือโดรนของยูเครนมีความยาวเกือบ 6 เมตร สามารถติดตั้งวัตถุระเบิดขนาดใหญ่ ทำความเร็วสูงสุดได้ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง วิ่งได้ในระยะทางสูงสุดที่ 800 กิโลเมตรคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ยูเครนใช้เรือโดรนโจมตีเรือรบ โครงสร้างทางการทหารรวมถึงคลังเก็บน้ำมันของรัสเซียหลายครั้ง แม้ว่าจะยังไม่สามารถสร้างความเสียหายได้แบบมีนัยสำคัญ แต่การปรากฏตัวของกองโดรนเรือยูเครนเป็นอุปสรรคที่ทำให้กองเรือรบของรัสเซียโจมตียูเครนจากทะเลดำยากขึ้น นอกเหนือจากกองเรือโดรนแล้ว ยูเครนยังเร่งผลิตโดรนที่ใช้โจมตีทางอากาศด้วย
ในงานแสดงอาวุธที่กรุงปารีสของฝรั่งเศส หรือ Paris Airshow เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เซอร์เก บอยเยฟ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ของยูเครนให้สัมภาษณ์ว่า ยูเครนกำลังเจรจากับบริษัทข้ามชาติหลายแห่งเพื่อร่วมมือในการผลิตอาวุธรวมถึงโดรนทางการทหาร โดยจะมีการตั้งโรงงานผลิตในประเทศเพื่อใช้ประโยชน์จากความชำนาญด้านโดรนที่ยูเครนมีอยู่ และเพื่อเป็นการสร้างงานให้กับชาวยูเครนในวันที่สงครามกำลังสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับเศรษฐกิจของประเทศ
มีรายงานว่า ปัจจุบันยูเครนมีบริษัทผลิตโดรนอยู่ในประเทศประมาณ 100 บริษัท คอยทำหน้าที่ผลิตโดรนทางการทหารในขั้นตอนต่างๆ ก่อนส่งไปทดสอบในสนามรบ หนึ่งในจุดที่ยูเครนใช้โดรนทำการรบถี่มากในช่วงหลังๆคือ ที่คาบสมุทรไครเมีย
เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา อู่ต่อเรือในเมืองเซวัสโตปอลเกิดเพลิงไหม้จากการโจมตีของยูเครน ส่งผลให้เรือรบที่กำลังซ่อมอยู่ในอู่ต่อเรือได้รับความเสียหาย 2 ลำ และมีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 24 คน
เซวัสโตปอล เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคไครเมีย ที่นี่เป็นที่ตั้งของอู่ต่อเรือและท่าเรือหลักของกองเรือทะเลดำหรือ Black Sea Fleet หนึ่งในกองเรือสำคัญของกองทัพเรือรัสเซีย
ภาพถ่ายดาวเทียมจากบริษัทดาวเทียม BlackSea แสดงให้เห็นถึงภาพของอู่ต่อเรือดังกล่าวก่อนและหลังการถูกโจมตี 1 วัน
บริษัท BlackSea ได้โพสต์ข้องความผ่านทางโซเซียลมีเดีย X ว่า เรือรบที่ได้รับความเสียหายได้แก่ เรือยกพลขนาดใหญ่ “มินสก์ โปรเจกต์ 775” และเรือดำน้ำชั้นกิโล “รอสตอฟ-ออน-ดอน”