สคฝ.เผยเงินฝากที่ได้รับคุ้มครอง ลดลง 2.1 แสนล้าน ครั้งแรกรอบ 10 ปี คนไทยถอนใช้ยาไส้

นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) เปิดเผยว่า จากรายงานข้อมูลสถิติเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครองล่าสุด ณ สิ้นเดือน ส.ค. 66 พบว่ามีจำนวนเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง 15.96 ล้านล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 65 จำนวน 212,688 ล้านบาท หรือลดลง 1.32% เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งด้านสภาวะเศรษฐกิจ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น อีกทั้งคนฝากเงินยังมีทางเลือกในการลงทุน ในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนสูง รวมถึงลงทุนทองคำ

ทั้งนี้ คาดว่าตลอดปีนี้จำนวนเงินฝาก มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับภาพรวมสินเชื่อที่ยังเติบโตในกรอบต่ำ ขณะที่จำนวนผู้ฝากที่ได้รับการคุ้มครองมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 93.46 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากปี 65 จำนวน 3.05 ล้านราย คิดเป็นการเติบโต 3.37% โดยปัจจุบันวงเงินคุ้มครองเงินฝากตามที่กฎหมายกำหนด 1 ล้านบาท ยังคงสามารถคุ้มครองผู้ฝากเงินได้เต็มจำนวน ครอบคลุมผู้ฝากเงินรายย่อยส่วนใหญ่ของประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 98.09% ของผู้ฝากเงินที่ได้รับความคุ้มครองทั้งระบบ

ส่วนสถิติเงินฝากตั้งแต่ปี 62 ถึงเดือน ส.ค. 66 พบว่าคนไทยมีเงินลดลงแบบถ้วนหน้าทุกระดับอาชีพ ตั้งแต่คนจนถึงคนรวย โดยจำนวนผู้ฝากมีเงินฝากไม่เกิน 50,000 บาท จะมีจำนวนที่เพิ่มต่อเนื่องทุกปี โดยในเดือน ส.ค. 66 เติบโตที่ 4.45% แต่จำนวนเงินฝากกลับเริ่มหดตัวตั้งแต่ปี 65 โดยลด 0.63% และในเดือน ส.ค. 66 ลดลง 3.6% ในขณะที่ผู้ที่มีเงินฝากมากกว่า 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท มีการปรับตัวลง ทั้งจำนวนเงินฝากและจำนวนผู้ฝากตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ปัญหาหนี้ครัวเรือนส่งผลกระทบให้ผู้ฝากที่มีเงินฝากไม่มาก ต้องถอนเงินนำเงินออมมาใช้จ่าย จนอาจทำให้ฐานะการออมเงินอ่อนแอลง

“แม้แต่ในกลุ่มผู้ฝากรายใหญ่ ที่เริ่มมีตัวเลขเงินฝากลดลงในปีนี้ ซึ่งเกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แรงกดดันจากภาวะสงคราม ราคาพลังงานปรับตัวสูง และปัญหารเงินเฟ้อทำให้ ธนาคารกลางต่างๆ ของโลก ต่างกำหนดนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อรักษาระดับดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับสูง ส่งผลโดยตรงต่อการบริโภคและการลงทุน”

นายทรงพล กล่าวว่า จากการติดตามสถิติเงินฝากและปัจจัยความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม ทำให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากต้องเร่งเดินหน้าขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2566-2570) ในหลายเรื่อง โดยถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินในต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาให้เกิดความเข้าใจถึงการบริหารจัดการและแนวทางในการกอบกู้สถานการณ์เหตุการณ์วิกฤติสถาบันการเงินคำพูดจาก ทดลองใช้ สูตรสล็อต

นอกจากนี้ สคฝคำพูดจาก pg slot เว็บใหม่. ยังวางเป้าหมายการดำเนินงานปี 67 ได้แก่ การประมวลผลข้อมูลผู้ฝากจากสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝากให้มีความถี่ขึ้นและความร่วมมือกับธนาคารเฉพาะกิจในการเป็น เพย์อิง เอเจนท์, การเตรียมกระบวนการด้านชำระบัญชีและบริหารสินทรัพย์ รวมถึงการพัฒนาสัญลักษณ์คุ้มครองเงินฝาก ให้ครอบคลุมการแสดงบนช่องทางบริการทางการเงินดิจิทัล และรองรับการจัดตั้งสถาบันการเงินในรูปแบบธนาคารไร้สาขา ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีเป้าประสงค์หลักเพื่อให้ผู้ฝากและประชาชนมั่นใจในสถาบันการเงินที่ผู้ฝากใช้บริการ และเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงินของประเทศ